การดูแลรักษา และ ทำความสะอาดหินควอทซ์

การดูแลรักษา และ ทำความสะอาดหินควอทซ์

หินควอทซ์สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ด้วยน้ำยาอ่อนๆผสมกับน้ำเปล่า และใช้ผ้าหรือทิชชูที่มีความนุ่ม ไม่หยาบกระด้างจนเกินไป และเช็ดออกให้แห้ง การใช้น้ำยาทำความสะอาดที่รุนแรงเกินไปหรือใช้ผ้าที่มีความหยาบมาก รวมทั้งน้ำยาฟอกขาวเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หินควอทซ์เป็นหินสังเคราะห์ที่ไม่จำเป็นต้องคอยขัดเงาให้ตลอดเวลา เพียงแต่ต้องทำความสะอาดโดยวิธีที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อคงสภาพความเงางามไว้ หินควอทซ์บางชนิดมีพื้นผิวที่ด้านกว่าจึงสะสมคราบและสิ่งสกปรกได้มากกว่าพื้นผิวเรียบ ดังนั้น การดูแลความสะอาดจึงสำคัญกว่า

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและระมัดระวังในการใช้หินควอทซ์คือ มีด ของมีคม หรือ วัสดุที่ทำจากเหล็ก เนื่องจากความแข็งของเหล็กสามารถก่อให้เกิดรอยจากการใช้งานได้ ไม่ควรทำอาหารบนเคาน์เตอร์หินโดยตรง ควรใช้เขียงหรือที่รองในการทำอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดรอยขีดข่วน

ในกรณีที่เกิดคราบหรือรอยขีดข่วนเบาๆ

หากใช้งานไปแล้วเกิดคราบไม่ฝังลึกหรือรอยขีดข่วนเบา สามารถใช้สก๊อตไบรท์และน้ำยาล้างจานผสมน้ำ ขัดวนเบาๆเพื่อขจัดคราบและรอยขนแมวออกได้

หินควอทซ์เป็นหินที่ทนการขีดข่วน และ ทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง แต่หินยังสามารถแตกหัก และถูกทำลายได้เช่นกัน ผู้ใช้งานควรดูแลรักษาและใช้งานอย่างระมัดระวัง หินควอทซ์ไม่ดูดสีจากอาหาร แต่ในบางกรณีหากเจอปากกาเมจิกหรือสีย้อมผ้าควรรีบทำความสะอาดทันที เพื่อลดการดูดซึมของสีหมึกที่จะซึมเข้าไปในเนื้อหิน แต่คราบจะยังคงอยู่ให้เห็น

ข้อควรระวังการใช้งานหิน และ หิน ควอทซ์

1.ความร้อน

หินทุกชนิดไม่ใช่เพียงหินควอทซ์เท่านั้น ล้วนมีโอกาสเสี่ยงแตกหรือร้าว หากได้รับการสัมผัสความร้อนจัดโดยตรง

เช่น การวางหม้อหรือกระทะร้อนๆที่เพิ่งขึ้นมาจากเตาโดยวางลงบนพื้นหินโดยตรง หากเป็นหินควอทซ์สีขาวมีโอกาสที่จะเกิดการไหม้และเกิดคราบเหลืองขึ้นได้ ในกรณีที่จำเป็นควรใช้ผ้าหรือใช้แผ่นรองเพื่อป้องกันการสัมผัสของก้นหม้อหรือกระทะกับหน้าท๊อปหินหรือควอทซ์

2. สารเคมีชนิดกัดกร่อน

สารเคมีชนิดกัดกร่อน เช่น สารฟอกขาวหรือสารที่มีฤทธิเป็นกรดรุนแรง สารเคมีเหล่านี้ไม่เหมาะแก่การนำมาทำความสะอาดพื้นผิวบนหินใดๆ รวมทั้งหินแกรนิตและหินควอทซ์ ด้วยฤทธิกัดกร่อนรุนแรงอาจทำลายพื้นผิวที่เคลือบของหิน นั่นไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความไม่สวยงามเท่านั้น แต่สารเหล่านี้มีความรุนแรงซึ่งมีความอันตรายต่อผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน

3.การหมักหมมของเศษอาหารหรือสิ่งสกปรก

ในการทำอาหารหรือใช้ครัวทุกครั้งเรามักจะทำเศษอาหารที่กำลังเตรียมไว้ หก หล่น บนเคาน์เตอร์ครัว ดังนั้นทุกครั้งหลังเตรียมอาหารหรือใช้งานเสร็จสิ้น เราควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อยืดอายุเครื่องครัว รวมทั้งเคาน์เตอร์หินหรือหินควอทซ์ชองเราด้วยเช่นกัน มิเช่นนั้นการสะสมของเศษซากอาหารที่ถูกวางทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดคราบฝังแน่นบนพื้นผิวของหินหรือหินควอทซ์ได้

4.น้ำยาทำความสะอาดชนิดรุนแรง

การใช้น้ำยาต่างๆเพื่อช่วยในการทำความสะอาดพื้นผิวอาจไม่มีผลในระยะสั้น แต่หากใช้เป็นระยะเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีบนพื้นผิวได้เช่นกัน วิธีที่ทำความสะอาดได้ดีที่สุดคือการใช้น้ำผสมกับน้ำยาล้างจานในการทำความสะอาด เพียงเท่านี้เราก็จะมีครัวที่สวยสะอาดน่าใช้งานไปอีกยาวนาน

5.สิ่งปฎิกูลของสัตว์

ปัสสาวะของสัตว์ โดยเฉพาะแมว มีกรดแอมโมเนียในปริมาณที่สูงมากและมีฤทธิกัดกร่อน ซึ่งสามารถทำให้พื้นผิวหินหรือหินควอทซ์กลายสภาพเกิดเป็นคราบเหลืองหรือเปลี่ยนสีได้ อีกทั้งยังสามารถทำลายพื้นผิวที่เคลือบอยู่ได้ ในกรณีฉุกเฉินควรรีบเช็ดและทำความสะอาดทันที

6.เทียนไข

ไม่ควรจุดเทียนและตั้งไว้บนพื้นหินหรือหินควอทซ์โดยตรง ควรมีภาชนะที่ร้องรับน้ำตาเทียน เนื่องจากความร้อนจากน้ำตาเทียนมีความร้อนสูง จึงสามารถก่อให้เกิดคราบเหลืองบนพื้นผิวของหินได้

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า